เมนู

บรรดาคำเหล่านั้น ความเสียประโยชน์ ชื่อ อนัตถะ.
บทว่า อนตฺถาย ได้แก่ เพื่อความเสียประโยชน์.
ความอยู่ในที่นั้นไม่ได้ ชื่อว่าความอยู่ไม่ได้.
ข้อว่า คิหีนํ พุทฺธสฺส อวณฺณํ มีความว่า กล่าวติพระพุทธ-
เจ้าในสำนักคฤหัสถ์.
ข้อว่า ธมฺมิกํ ปฏิสฺสวํ น สจฺจาเปติ มีความว่า ความรับ
จะเป็นจริงได้ด้วยประการใด เธอไม่ทำด้วยประการนั้น; คือ รับการ
จำพรรษาแล้วไม่ไป หรือไม่ทำกรรมเห็นปานนั้นอย่างอื่น.
คำว่า ปญฺจนฺนํ ภิกฺขเว เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
เพื่อแสดงข้อที่ภิกษุผู้ควรแก่กรรม แม้ด้วยองค์อันเดียว.
คำที่เหลือในเรื่องนี้ มีความตื้น และมีนัยดังกล่าวแล้วในตัชชนีย-
กรรมทั้งนั้น.

อุกเขปนียกรรม


วินิจฉัยในเรื่องพระฉันนะ พึงทราบดังนี้ :-
คำว่า อาวาสปรมฺปรญฺจ ภิกฺขเว สํสถ มีความว่า และ
ท่านทั้งหลายจงบอกในอาวาสทั้งปวง.
ในบทว่า ภณฺฑนการโก เป็นต้น มีวินิจฉัยว่า สงฆ์พึงยก
อาบัติที่ต้อง เพราะปัจจัยมีความบาดหมางเป็นต้น กระทำกรรมเพราะไม่
เห็นอาบัตินั้นนั่นแล.

ติกะทั้งหลาย มีประการดังกล่าวแล้วเหมือนกัน. แต่ความประพฤติ
ชอบในเรื่องพระฉันนะนี้ มีวัตร 43 ข้อ.
บรรดาวัตรเหล่านั้น ข้อว่า น อนุทฺธํเสตพฺโพ ได้แก่ ไม่พึง
โจทภิกษุอื่น.
ข้อว่า น ภิกฺขุ ภิกฺขูหิ ได้แก่ ไม่พึงยุภิกษุอื่นกับภิกษุอื่นให้
แตกกัน .
ข้อว่า น คิหิโช ได้แก่ ไม่พึงทรงผ้าขาว ผ้าไม่ได้ตัดชาย
และผ้ามีลายดอกไม้.
ข้อว่า น ติตฺถิยธโช ได้แก่ ไม่พึงทรงผ้าคากรองเป็นต้น .
ข้อว่า น อาสาเทตพฺโพ ได้แก่ ไม่พึงรุกรานภิกษุอื่น.
สองบทว่า อนฺโต วา พหิ วา ได้แก่ จากข้างในก็ดี จาก
ข้างนอกก็ดี แห่งกุฎีที่อยู่.
สามบท มีบทว่า น ติตฺถิยา เป็นต้น ตื้นทั้งนั้น.
ข้าพเจ้าจักพรรณนาบทที่เหลือทั้งหมด ในปาริวาสิกักขันธกะ.
คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วในตัชชนียกรรมนั่นแล.
อุกเขปนียกรรมในเพราะไม่ทำคืนอาบัติ คล้ายกับอุกเขปนียกรรม
ในเพราะไม่เห็นอาบัตินี้แล.
เรื่องอริฏฐภิกษุ ได้กล่าวแล้วในวรรณนาแห่งขุททกกัณฑ์.1
วินิจฉัยในบทว่า ภณฺฑนการโก เป็นต้น พึงทราบดังนี้:-
1. สมนต. ทุติย. 463.

ภิกษุอาศัยทิฏฐิใด จึงทำความบาดหมางเป็นต้น, พึงทำกรรม ใน
เพราะไม่สละทิฏฐินั้นนั่นแล
บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วในตัชชนียกรรมนั่นแล.
แม้ความประพฤติชอบในอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิลามกนี้
ก็มีวัตร 43 ข้อ เหมือนกัน ด้วยประการฉะนี้.
กัมมักขันธกวรรณนา จบ

ปาริวาสิกขันธกะ


เรื่องพระอยู่ปริวาส


[320] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวันอารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุ
ทั้งหลายผู้อยู่ปริวาส ยินดีการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิ
กรรม การนำอาสนะมาให้ การนำที่นอนมาให้ การนำน้ำล้างเท้ามาให้
การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรจีวร การถูหลัง
เมื่ออาบน้ำของปกตัตตะภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย....ต่างก็
เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ปริวาส จึงได้
ยินดีการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะ
มาให้ การนำที่นอนมาให้ การนำน้ำล้างเท้ามาให้ การตั้งตั่งรองเท้า
การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรันบาตรจีวร การถูหลังเมื่ออาบน้ำของ
ปกตัตตะภิกษุทั้งหลายเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม


[321] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ใน
เพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุ
ทั้งหลายว่า:-
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ปริวาส ยินดีการ
กราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้